mameaw

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

วันแม่แห่งชาติ

    

                                   แม่ คือ  ผู้ให้ ” ไม่หวังสิ่งตอบแทน      แม่ คือ  ผู้สร้าง ” แบบแผนแจ้งประจักษ์

 

                          แม่ คือ  ผู้มอบ  ความรู้คู่ความรัก                แม่  คือ  แม่ ” ผู้เหนื่อยหนักตลอดมา

 

                               แม้ชีวิตจะเกี่ยวข้องกับพจนานุกรมอยู่เสมอ  แต่มีคำอยู่คำหนึ่งที่ฉันไม่เคยคิด

                          จะเปิดหาความหมายเลย  แม้แต่ครั้งเดียว  ด้วยรู้ดีว่าไม่มีพจนานุกรมเล่มใดที่จะอธิบาย

                          ความหมายของคำคำนี้ได้อย่างครบถ้วน  และสมบูรณ์อย่างแท้จริง 

                           แม่  คำที่มีลักษณะห้วนสั้น  แต่พร้อมพรั่งไปด้วยความหมายอันยิ่งใหญ่อย่าง

                          หาที่เปรียบมิได้  เพราะแม่คือ  ผู้ให้ ” ผู้อุทิศกายใจเพื่อลูกทุกเสี้ยววินาที 

                          และแม่คือ  ผู้สร้าง ” ผู้หล่อหลอมความดีความงามทั้งมวลแก่เผ่าพันธุ์มนุษยชาติ

 

                                ความรักของแม่ คือ รักแท้อันบริสุทธิ์  สายใยแห่งความรักระหว่างแม่กับลูก

                         เริ่มก่อเกิดนับตั้งแต่วินาทีแรกที่แม่รับรู้ว่า  ยังมีอีกชีวิตหนึ่งถือกำเนิดอยู่ในครรภ์ 

                          แม่คือผู้ให้ชีวิต   ให้ดวงตาสองข้างอันเปรียบดังบานประตูสู่โลกกว้าง 

                         ให้สองหูอันเป็นบันไดไปสู่การเรียนรู้  ให้สองมือ สองเท้าเพื่อดำเนินชีวิต

                         บนโลกแห่งประสบการณ์  เหนือสิ่งอื่นใด แม่ได้ให้ความรัก อันเป็นจุดเริ่มต้น

                         แห่งความรักทั้งมวลบนโลกใบนี้

 

                             ใครกันหนออุปมาว่าแม่เปรียบเสมือนดอกมะลิ  สีขาวของกลีบดอกนั้น

                        คงเป็นเครื่องสะท้อนถึงรักแท้จากดวงใจบริสุทธิ์  รักนั้นช่างมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง

                        ดังกลิ่นหอมอ่อนๆที่กรุ่นกำจายอยู่มิรู้หาย  หากมีใครสักคนตีค่าความรักเป็นราคา 

                        ความรักของแม่คงเป็นความรักที่ราคาแพงอย่างประเมินค่ามิได้  ด้วยเนื้อแท้แห่งรัก

                        บริสุทธิ์ที่เปล่งประกายอวดโฉมอยู่ตลอดเวลาช่างงดงามนัก  แม้เพชรพลอยเลอค่า

                        ก็มิอาจเทียบได้

วันสำคัญทางพุทธศาสนา



วันอาสาฬหบูชา

ไฟล์:Paintings of Life of Gautama Buddha - Asalha Puja.jpg




ความสำคัญ

วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก โดยการแสดงปฐมเทศนา โปรดพระปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จนพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้เป็นวันแรกที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นครบองค์พระรัตนตรัย
วันอาสาฬหบูชา  เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดง พระปฐมเทศนา หรือการแสดง  พระธรรมครั้งแรก หลังจากที่ตรัสรู้ได้ 2 เดือน เป็นวันที่เริ่มประดิษฐานพระพุทธศาสนาเนื่องจากมีองค์ประกอบของ  พระรัตนตรัยครบถ้วนคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี ในวันเพ็ญ (ขึ้น 15ค่ำ) เดือน 8 ดวงจันทร์ เสวยมาฆฤกษ์
การแสดงพระปฐมเทศนา ได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์  ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี พระธรรมที่แสดงคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อเทศนาจบ พระโกณฑัญญะ   หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ผู้ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ  ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม มีความเห็นแจ้งชัดว่า  ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ      สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ  สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา    สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา
 เมื่อได้ดวงตาเห็นธรรมจึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ประทานอุปสมบทให้ ด้วยวิธีที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยกล่าวคำว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด พระโกณฑัญญะจึงเป็น พระอริยสงฆ์องค์แรก คำว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไปมีความโดยย่อว่า
 ที่สุด 2 อย่างที่บรรพชิตไม่ควรประพฤติปฏิบัติคือ การประกอบตนให้อยู่ในความสุขด้วยกาม ซึ่งเป็นธรรมอันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ที่สุดอีกทางหนึ่งคือ การประกอบการทรมานตนให้เกิดความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์    การดำเนินตามทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้  ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาและญาณให้เกิด เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ และนิพพาน ทางสายกลาง ได้แก่ อริยมรรค มีองค์แปด คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ดำริห์ชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ  และตั้งใจชอบ  อริยสัจสี่ คือความจริงอันประเสริฐที่พระองค์ค้นพบ มี 4 ประการได้แก่ 
ความทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความได้พบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น ว่าโดยย่อ  อุปาทานในขันธ์ 5 เป็นทุกข์
 สาเหตุแห่งทุกข์  ได้แก่ ตัณหาความทะยานอยาก อันทำให้เกิดอีกความกำหนัด เพลิดเพลินในอารมณ์ คือกามตัณหา ความทะยานอยากในกาม ภวตัณหา ความทะยานในภพ วิภวตัณหา ความทะยานอยากในความไม่มีภพ
 ความดับทุกข์  โดยการดับตัณหาด้วยอริยมรรค คือ วิราคะ สละ ดับ ปล่อยไป ไม่พัวพัน
 หนทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์  ได้แก่ อริยมรรคมีองค์  8 คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตมั่นชอบ
 ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า
นี้เป็นทุกข์ อันควรกำหนดรู้  และพระองค์ ได้กำหนดรู้แล้ว
นี้เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ อันควรละ และพระองค์ ได้ละแล้ว
นี้เป็นความดับทุกข์ อันควรทำให้แจ้ง  และพระองค์ ได้ทำให้แจ้งแล้ว
นี้เป็นหนทางดับทุกข์ อันควรเจริญ  และพระองค์ ได้เจริญแล้ว
สรุปได้ว่า ปัญญาอันรู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงในอริยสัจ 4   มีรอบ 3   มีอาการ 12   คือ   ขั้นแรก รู้ว่า อริยสัจแต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไร ขั้นที่สองรู้ว่าควรจะทำอย่างไรในอริยสัจแต่ละประการนั้น และขั้นที่ 3 พระองค์ได้ กระทำตามนั้นสำเร็จเสร็จแล้ว
พระองค์ทรงเน้นว่า จากการที่พระองค์ทรงค้นพบ คือตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการนี้ การที่พระองค์ทรงกล้าปฏิญญา   ว่าเป็นผู้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะพระองค์ได้รู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริง ในอริยสัจ 4 มี รอบ 3 มีอาการ 12 อย่างหมดจดดีแล้ว
เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงประกาศพระธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว ได้มีการบันลือต่อ ๆ กันไปให้ทราบทั่วกันว่า พระธรรมอันยอดเยี่ยมที่พระองค์ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันใคร ๆ ในโลกจะปฏิวัติไม่ได้
วันอาสาฬหบูชามีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่ 3 ประการคือ
1.  เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา โดยทางแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร   ประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พระองค์ตรัสรู้ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย
2. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นในโลก คือ พระโกณฑัญญะ เมื่อได้ฟังพระปฐมเทศนาจบ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ทูลขออุปสมบท และพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกษุอุปสัมปทา ในวันนั้น
3. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ ขึ้นในโลกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่4

4.1
<html>
<head>
<script language=''javascript''>
<!--
var a;
var b;
a=prompt("กรุณากรอกชื่อ=สกุล");
alert("สวัสดี+a");
</script>
</head>
</html>

4.2
<html>
<head>
<script language=''javascript''>
<!--
var a;
var b;
a=prompt("ความกว้าง")
b=prompt("ความยาว")
alert("พื้นที่สี่เหลี่มผืนผ้า"+a*b);
</script>
</head>
</html>